โรคฉี่หนู อันตรายไหม??

626 จำนวนผู้เข้าชม  | 

 โรคฉี่หนู อันตรายไหม??

          โรคฉี่หนู มักจะระบาดในฤดูฝน และต้นฤดูหนาว เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่มีอุณหภูมิ และ ความชื้นพอเหมาะ ทำให้เชื้อสามารถทนอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นาน ในบริเวณที่เป็นแหล่ง น้ำขัง น้ำท่วม ท้องนา บ่อน้ำ ลำคลอง ที่โดนแดดน้อย หรือไม่โดนแดด และมีสภาวะ เป็นกลางหรือค่อนด่าง

โรคฉี่หนู (Leptospirosis) หรือเรียกอีกอย่างว่าโรคเล็ปโตสไปโรซิส เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นได้ทั้งกับคนและสัตว์ การติดเชื้อในคนมีสาเหตุมาจากการสัมผัสดิน น้ำ อาหารที่ปนเปื้อนปัสสาวะ เลือด หรือเนื้อเยื่อของของสัตว์ที่ติดเชื้อชนิดนี้ เช่น สุนัข วัว ควาย หนู สุกร ม้า สัตว์ป่า เป็นต้น


ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากโรคฉี่หนูสูง ควรต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ได้แก่
1.คนที่ทำงานฟาร์มปศุสัตว์หรือทำงานใกล้ชิดกับสัตว์ สัมผัสเนื้อหรือมูลของสัตว์
2.คนแล่เนื้อหรือคนที่ทำงานกับสัตว์ที่ตายแล้ว
3.ชาวประมงที่หาสัตว์ตามแหล่งน้ำจืด
4.ผู้ที่อาบน้ำตามแม่น้ำ ลำคลอง ที่เป็นแหล่งน้ำจืดทั้งหลาย
5.คนที่ทำกิจกรรมหรือเล่นกีฬาทางน้ำ เช่น ว่ายน้ำ พายเรือ แล่นเรือ ล่องแก่ง เป็นต้น
6.สัตวแพทย์ , ทหาร
7.พนักงานกำจัดหนู ,พนักงานลอกท่อ , คนงานเหมือง
8.ผู้ที่ย่ำน้ำในที่น้ำท่วมขังนาน ๆ


อาการของผู้ที่ได้รับเชื้อโรคฉี่หนู
          ส่วนใหญ่ผู้ที่ได้รับเชื้อโรคฉี่หนูจะไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย มีเพียงประมาณ 10-15% ที่จะมีอาการรุนแรง เมื่อเชื้อโรคฉี่หนูเข้าสู่ร่างกาย เชื้อจะเข้าสู่กระแสเลือดและกระจายไปยังอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย มีระยะฟักตัวก่อนเกิดอาการเร็วหรือช้าในแต่ละคนจะไม่เท่ากัน บางรายมีอาการเร็วภายใน 2 วัน บางรายนานหลายสัปดาห์หรืออาจจะถึง 1 เดือน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะเริ่มมีอาการประมาณ 1-2 สัปดาห์หลังจากรับเชื้อ และผู้ติดเชื่อก็มีหลายลักษณะอาการดังนี้คือ

 - ไม่มีอาการเลย
 - มีอาการน้อย
 - มีอาการมาก
 - มีอาการรุนแรง
 - มีภาวะแทรกซ้อน และในบางรายเป็นอันตรายถึงชีวิต

ผู้ที่สัมผัสและรับเชื้อนี้ส่วนใหญ่ไม่มีป่วย ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการอาจแบ่งเป็น 2 กลุ่มดังนี้



ㆍกลุ่มที่อาการไม่รุนแรง จะมีอาการไข้สูงแบบทันทีทันใด ปวดศีรษ: สับสน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ซึ่งอาการดังกล่วคล้ายโรคติดเชื้อหลายชนิดเช่น ไข้เลือดออก เป็นตัน อาการที่พบบ่อยและทำให้นึกถึงโรคฉี่หนูได้แก่ อาการปวดกล้ามเนื้อที่รุนแรง อาการตาแดง หรือ เลือดออกใต้ตาขาว ผู้ป่วยกลุ่มนี้ถ้าได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีจะไม่พบภาวะแทรกช้อนที่รุนแรงของโรคและเป็นอยู่ได้นานถึง 1 สัปดาห์


ㆍกลุ่มที่อาการรุนแรง พบน้อยกว่ากลุ่มแรก ผู้ป่วยนอกจากจะมีอาการไข้สูง ปวดเมื่อย เหมือนกลุ่มแรกแล้ว จะมีอาการแทรกซ้อนของโรคร่วมด้วย เช่น ตาเหลือง ตัวเหลือง คอแข็ง ความดันโลหิตต่ำ การทำงานของไตลดลง ปอดอักเสบ เลือดออกผิดปกติ รายที่รุนแรงมากอาจพบเลือดออกในปอดได้ กลุ่มนี้ต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เพื่อป้องกันการเสียชีวิต

ควรดูแลตนเองอย่างไร? ป้องกันโรคฉี่หนูได้อย่างไร?
1.ดูแลที่อยู่อาศัยให้สะอาด ไม่ให้มีหนูมาอยู่อาศัย
2.หลีกเลี่ยงการสัมผัสบริเวณที่เสี่ยงต่อการรับเชื้อโดยไม่ใส่เครื่องป้องกัน เช่น การย่ำน้ำขัง การเดินลุยน้ำ หรือทำงานในแหล่งน้ำ เป็นต้น
3.ควรสวมชุดป้องกัน เช่น รองเท้าบู๊ต ถุงมือยาง ถุงเท้ายาง เมื่อต้องทำงานที่ เกี่ยวข้องกับสัตว์ที่อาจมีเชื้อ หรือต้องทำงานในพื้นที่เสี่ยง
4.รีบทำความสะอาดร่างกายโดยเร็วหากสัมผัสกับแหล่งน้ำที่สงสัยว่าอาจมีเชื้อปน เปื้อน
5.เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ ควรแยกบริเวณที่เลี้ยงสัตว์กับที่อยู่อาศัยของคนให้ชัดเจน เช่นมีคอกกั้น ไม่ให้สัตว์เข้ามาในบริเวณบ้านอยู่อาศัย ไม่ใช้ภาชนะร่วมกัน
6.การมีผู้ป่วยอยู่ในบ้าน ไม่จำเป็นต้องแยกห้องนอน สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันได้ ระวังเรื่องการขับถ่ายให้ถูกสุขลักษณะ คือถ่ายลงส้วม ราดนำ้ให้สะอาด ล้างมือ ทุกครั้ง ควรงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์ การให้นมบุตร แม้ว่าโอกาสที่จะติดจากคน สู่คนจะน้อยมากก็ตาม
7.ปัจจุบันมีวัคซีนระยะสั้น สำหรับเชื้อบางสายพันธุ์เท่านั้นในประเทศจีน คิวบา ฝรั่งเศส และรัสเซีย ยังไม่มีการใช้วัคซีนในประเทศไทย และไม่ทราบถึง ประสิทธิภาพในการป้องกันมากนัก จึงไม่มีการแนะนำให้ฉีดวัคซีน


ขอบคุณข้อมูล :   POBPAD , พญ.ร่มเย็น ศักดิ์ทองจีน ศูนย์โรคติดเชื้อ โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้