ชาเขียว VS ชาไทย มากจากที่ไหนกันแน่?

900 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ชาเขียว VS ชาไทย มากจากที่ไหนกันแน่?

          หนึ่งในเครื่องดื่มที่คนไทยทุกคนรู้จักก็คือ “ชา” ที่สามารถซื้อรับประทานได้แทบทุกหนแห่ง ไม่ว่าจะเป็นร้านสะดวกซื้อ ร้านกาแฟ ร้านอาหาร และคาเฟ่ต่างๆ ไม่เพียงเท่านั้น รูปแบบเมนูชายังมีให้เลือกมากมายอีกด้วย ซึ่งข้อแตกต่างหนึ่งที่สามารถสังเกตได้ชัดเจนก็คือว่า เป็นชาเขียว หรือชาไทย แต่รู้หรือป่าวว่าจริงๆแล้ว ชาเขียวและชาไทยมาจากที่ไหนกันแน่??

ต้นกำเนิดชาไทย

          ชาไทยเป็นเครื่องดื่มที่โด่งดังไปทั่วโลกไม่แพ้ชาเขียวของญี่ปุ่นแม้แต่น้อย และยังได้ติดอันดับ 1 ใน 50 เครื่องดื่มที่อร่อยที่สุดในโลกอีกด้วย ไม่ว่าชาติไหนมาลองดื่มก็เป็นอันต้องประทับใจ และติดใจอยากนำกลับไปทานอยู่เสมอๆ เหตุผลหนึ่งอาจเป็นเพราะส่วนผสมที่ต่างไป อาทิ เติมน้ำตาล นมข้นหวาน หรือนมสด จึงทำให้ในหนึ่งของวันท่าน อาจจะได้ดื่มชาไทยที่รสชาติและสัมผัสไม่ซ้ำกันเลยก็ได้


          คนไทยดื่มชามาอย่างช้านาน ซึ่งคาดว่าเริ่มต้นขึ้นในช่วงของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในสมัยกรุงศรีอยุธยา
ชาจากประเทศจีนเป็นชาที่เข้ามาก่อนชนิดอื่น ในตอนนั้นวิธีการดื่มชาก็จะดูแปลกๆ ไม่น้อย เพราะต้องมีการอมน้ำตาลกรวดไว้ในปากและตามด้วยการดื่มชาร้อน มีรสชาติฝาดๆ มากกว่าขม และจะมีรสติดอยู่ที่โคนลิ้นหลังจากดื่ม และจะมีรสชาติหวานนิดๆ ตามมา อีกทั้งด้วยความ “ใหม่” ของชาในขณะนั้น ทำให้ไม่เป็นที่นิยมในหมู่คนทั่วไปนัก แต่มักนำไปถวายพระมากกว่านั่นเอง

ทำไมชาไทยถึงใส่นม?
          สืบเนื่องมาจากตอนที่ชาได้เข้ามา ประเทศไทยก็ได้มีการติดต่อค้าขายกับประเทศอินเดียอยู่เช่นกัน จึงได้รับอิทธิพลในการเติมนมและน้ำตาลลงในชามาด้วย จนเกิดเป็นสี “ส้ม” สะดุดตา และต่อมาในปี พ.ศ. 2446 ได้มีการก่อตั้งโรงน้ำแข็งเป็นแห่งแรก ทำให้น้ำแข็งถูกเติมเข้าไปเพื่อเพิ่มความเย็นสดชื่นให้กับเครื่องดื่มต่างๆ รวมถึงชาไทยอีกด้วย จนกระทั่งในช่วงปลายรัชกาลที่ 6 ร้านกาแฟโบราณมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้คนทั่วไปเริ่มรู้จักชาไทยในรูปแบบที่มีการใส่นมและน้ำตาลจนคุ้นชินมาถึงทุกวันนี้

ชาไทยที่มาจากชาซีลอน
          เมื่อพูดถึงชาซีลอน คงเป็นคำที่เริ่มคุ้นหูหลายๆ คน เพราะชาไทยดั้งเดิมนั้นจะถูกชงมาจากผงชาซีลอน แต่ด้วยราคาที่ค่อนข้างสูง จึงได้มีการเปลี่ยนมาใช้ “ใบเมี่ยง” ใส่กับสีผสมอาหารแทน หรืออาจมีการผสมน้ำลอยดอกส้ม, โป๊ยกั๊ก, เมล็ดมะขามบด หรืออาจเป็นเครื่องเทศชนิดอื่นๆ ที่ในปัจจุบันหาสูตรแบบนี้แทบไม่ได้แล้ว แต่ชาไทยที่มาจากชาซีลอนก็ยังคงเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมอยู่เหมือนเดิม

ชาเขียวกำเนิดมาจากญี่ปุ่นจริงหรือ?
ที่จริงแล้วชาเขียวหรือ Ryokucha ( 緑茶 ) มีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีนมากกว่า 4,000 ปีมาแล้ว เหตุที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นที่รู้จักในด้านการผลิตใบชาคุณภาพ เกิดขึ้นจากนักบวชชาวญี่ปุ่นที่ชื่อว่า Eichu จากวัด Bonshakuji ในจังหวัดไอจิ ได้เดินทางไปเป็นทูตเรียนรู้เรื่องต่างๆ จากประเทศจีนรวมทั้งได้ศึกษาเรื่องยาสมุนไพรจากจีน จนได้รู้จัก “ชา” แล้วจึงนำกลับมาถวายจักรพรรดิซางะ

         เมื่อจักรพรรดิซางะได้ดื่มชาก็ชื่นชอบในรสชาติมาก รวมไปถึงสรรพคุณชาเขียวที่ดีต่อสุขภาพ จนได้มีการชงชาดื่มกันในหมู่ชนชั้นสูงเรื่อยมาจนถึงผู้คนทั่วไป ชาวญี่ปุ่นจึงได้มีการปลูกเพราะต้นชา และคิดค้นกรรมวิธีการผลิตชาเขียวชนิดต่างๆ อาทิ มัทฉะ เซนฉะ เกนไมฉะ เคียวคุโระ ฯลฯ รวมไปถึงพิธีชงชาหรือที่เรียกว่า ที่เรียกว่า ซะโด (Sadou) หรือ ชะโด (Chadou) ที่โด่งดังไปทั่วโลกอีกด้วย 


พิธีชงชาที่เป็นวิถีชีวิต
เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่น แฝงไปด้วยปรัชญา “อิจิโกะ อิจิเอะ (Ichigo Ichie)” หมายถึง “การได้พบกันครั้งเดียวในชีวิต” มาจากแนวความคิดที่ว่า การที่ได้พบกันในพิธีชงชานั้นอาจเป็นโอกาสเพียงครั้งเดียวในชีวิต แล้วหลังจากนี้อาจไม่ได้พบกันอีกเลยก็ได้ ดังนั้นช่วงเวลาที่ได้พบกันจึงเป็นสิ่งที่มีคุณค่า ควรปฏิบัติต่อกันอย่างดีที่สุดนั่นเอง


ประโยชน์ของชาไทยและชาเขียวญี่ปุ่น
ทั้งชาไทยและชาเขียวจากญี่ปุ่นนั้นมีจุดร่วมเดียวกันก็คือ เป็นผลผลิตที่มีต้นกำเนิดมาจากต้นชา (Camellia Sinensis) ด้วยกันทั้งคู่ (แต่ชาไทยบางแห่งก็มาจากใบเมี่ยง) ฉะนั้นหากพูดถึงประโยชน์ชาเขียวหรือชาไทย ล้วนมีข้อดีที่เหมือนกัน ซึ่งการดื่มชามีข้อดีดังนี้

  • ต้านอนุมูลอิสระในชาประกอบด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ทรงพลังหลายชนิด โดยเฉพาะ Epigallocatechin gallate (EGCG) สารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์แรงมากกว่าวิตามินอีถึง 20 เท่า คาเทชินเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ สามารถจับกับอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุของโรคหลายชนิด เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ และภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นต้น การดื่มชาจึงช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเหล่านี้ได้
  • รักษาสุขภาพช่องปาก สารโพลิฟีนอล (Polyphenols) ในน้ำชาจะช่วยยับยั้งเติบโตของแบคทีเรียในช่องปาก ที่สามารถก่อโรคในช่องปากและทำให้ฟันผุได้ นอกจากนี้ยังมีสารคาเทชินที่ช่วยเคลือบฟันให้แข็งแรงป้องกันฟันผุ แต่การดื่มชาในปริมาณมากเกินไปก็อาจทำให้ฟันเหลืองได้
  • ช่วยป้องกันเบาหวาน ข้อดีของสารโพลิฟีนอลนั้นยังช่วยป้องกันเบาหวานชนิดที่ 2 ลดระดับน้ำตาลในเลือด โดยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อะไมเลสไว้ ส่งผลให้ย่อยแป้งชาลงและช่วยให้ร่างกายเพิ่มขึ้นระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างช้าๆ ไม่เร็วจนเกินไป
  • ช่วยการทำงานของระบบประสาท ชามีสาร L-Theanine ที่ออกฤทธิ์กับระบบประสาทส่วนกลาง ช่วยให้สมองปล่อยคลื่นสมองอัลฟา (Alpha Brain Wave) มากขึ้น และลดคลื่นสมองเบต้า (Beta Brain Wave) ทำให้ช่วยผ่อนคลายและลดความเครียด ส่งเสริมให้มีสมาธิมากขึ้น ไม่หงุดหงิดง่าย ลำดับความคิดเป็นระบบระเบียบมากขึ้น ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น


สามารถสั่งซื้อที่ได้ที่...
วัตถุดิบ : ใบชา | โกโก้ | ผงผสม
Line OA : Mister Coffee Shop
Line Shopping : LINE SHOPPING
Shopee : Mistercoffeeshop

#พื้นที่ที่ให้บริการไกล้คุณ
ศูนย์รังสิต 02-026-8899 ต่อ 2911
ศูนย์อุดรธานี 02-026-8899 ต่อ 2921
ศูนย์ขอนแก่น 02-026-8899 ต่อ 2931
ศูนย์ชลบุรี 02-026-8899 ต่อ 2941
ศูนย์เชียงราย 02-026-8899 ต่อ 2951
ศูนย์นครสวรรค์ 02-026-8899 ต่อ 2961
ศูนย์สุราษฎร์ธานี 02-026-8899 ต่อ 2971

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้