1335 จำนวนผู้เข้าชม |
ประวัติวันแรงงานแห่งชาติไทย
วันแรงงานในประเทศไทยถูกกล่าวถึงครั้งแรกในปี พ.ศ. 2475 ซึ่งตรงกับสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ในรัชสมัยรัชกาลที่ 8 และรัฐบาลได้รับรองวันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันกรรมกรแห่งชาติในปี พ.ศ. 2499 และได้เปลี่ยนชื่อเป็นวันแรงงานในปี พ.ศ. 2500
ในยุคแรกของวันแรงงานนั้น ลูกจ้างยังไม่ได้หยุดงานในวันที่ 1 พฤษภาคมนี้ด้วย และใช้เวลาถึง 17 ปี จึงได้ประกาศเป็นวันหยุดให้แรงงานได้มีช่วงเวลาเฉลิมฉลองวันแรงงานในปี พ.ศ. 2517
เนื่องจากวันแรงงาน 1 พฤษภาคม ของทุกปี มีวันหยุดนักขัตฤกษ์ใกล้เคียงกันคือวันพืชมงคล แรงงานที่มีครอบครัวเป็นเกษตรกรจึงมักใช้โอกาสนี้เดินทางกลับต่างจังหวัดเพื่อเริ่มฤดูกาลหว่านไถ ถือเป็นฤกษ์มงคลในการเพาะปลูกรอรับน้ำฝนในช่วงเดือน พฤษภาคม – มิถุนายน
ความสำคัญของแรงงานไทยในปัจจุบัน
แรงงานทั้งกลุ่มที่เป็นลูกจ้าง พนักงานต่าง ๆ เป็นกำลังในการดำเนินกิจการ และช่วยสร้างรายได้ ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตสินค้าและการบริการ โดยมีข้อมูลจำนวนแรงงานในธุรกิจต่าง ๆ ดังนี้
- ธุรกิจการศึกษา
- ธุรกิจโรงแรมและร้านอาหาร
- ธุรกิจการเงิน การลงทุน และที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์
- ธุรกิจค้าปลีก
- ธุรกิจการผลิต
- เกษตรกรรม ประมง
- ธุรกิจยานยนต์
- ธุรกิจการขนส่ง
- ธุรกิจการก่อสร้าง
- บริการอื่น ๆ
เพราะฉะนั้นหากหน่วยงานที่มีแรงงานที่มีประสิทธิภาพ ก็มักจะส่งผลให้ธุรกิจเติบโตได้ดีด้วย ปัจจุบันหน่วยงานที่ดูแลระบบแรงงานไทยทั้งหมด คือ กระทรวงแรงงาน โดยแบ่งออกเป็น กรมจัดหางาน, กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน, กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และสำนักงานประกันสังคม โดยมีช่องทางให้แรงงานติดต่อสอบถามข้อมูลต่าง ๆ ได้ที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร. 1506